ข้อมูลพื้นฐานจังหวัด
ข้อมูลพื้นฐานจังหวัด

จังหวัดสมุทรสงคราม

สมุทรสงคราม เป็นจังหวัดในภาคกลาง (หน่วยงานบางแห่งถือเป็นส่วนหนึ่งของภาคตะวันตก) มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดของประเทศ คือประมาณ 416.7 ตารางกิโลเมตร ทั้งยังมีจำนวนประชากรน้อยที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศด้วย นับเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและมีชายฝั่งทะเลติดอ่าวไทยยาวประมาณ 23 กิโลเมตรซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มากเพราะเป็นดินดอนปากแม่น้ำ มีภูเขา 1 ลูก (เขายี่สาร) ไม่มีเกาะ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มโดยพื้นที่ฝั่งตะวันตกจะสูงกว่าฝั่งตะวันออกเล็กน้อย

ปลายปี พ.ศ. 2550 ผลการสำรวจดัชนีความมั่นคงของมนุษย์พบว่า สมุทรสงครามเป็นจังหวัดที่มีความมั่นคงของมนุษย์สูงที่สุดในประเทศไทย

 

คำขวัญประจำจังหวัด : เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยาน ร.2 แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม


ข้อมูลพื้นฐานจังหวัด

ตราประจำจังหวัด : รูปกลองลอยน้ำ
ข้อมูลพื้นฐานจังหวัด


ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นจิกทะเล (Barringtonia asiatica)

   ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกจิกทะเล

ข้อมูลพื้นฐานจังหวัด

สัตว์น้ำประจำจังหวัด : หอยหลอดชนิด Solen regularis

ข้อมูลพื้นฐานจังหวัด

ลักษณะรูปร่างของจังหวัด : ลักษณะรูปร่างของจังหวัดสมุทรสงครามมีรูปร่างคล้ายกับหัวของสมเสร็จ

           อาณาเขตติดต่อ

                พื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามมีพื้นที่ติดกับจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้

     ทิศเหนือ          จรดจังหวัดราชบุรีและจังหวัดสมุทรสาคร

  ทิศตะวันออก จรดอ่าวไทยชั้นใน (พื้นที่เขตจังหวัดสมุทรสงครามทางทะเลติดต่อจังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดเพชรบุรี

     ทิศใต้          จรดจังหวัดเพชรบุรี (อำเภอเขาย้อย และอำเภอบ้านแหลม)

               ทิศตะวันตก      จรดจังหวัดราชบุรี

ประวัติ

จังหวัดสมุทรสงครามหรือเมืองแม่กลอง ในอดีตคือแขวงบางช้างของเมืองราชบุรี ชื่อบางช้างอาจตั้งตามพระนามในเจ้าพลาย (ในปี พ.ศ. 2173 เจ้าพลายและเจ้าแสนซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์ที่หนึ่งและพระราชโอรสองค์ที่สองตามลำดับในสมเด็จพระเอกาทศรถ (องค์ขาว) ซึ่งเป็นพระอนุชาพระองค์เดียวที่เราทราบในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (องค์ดำ) ซึ่งไม่มีพระราชโอรส ได้หนีราชภัยมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่แขวงบางช้าง) แขวงบางช้างมีศูนย์กลางอยู่ที่ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (ตามการแบ่งเขตการปกครองในปัจจุบัน) แขวงบางช้างมีอีกชื่อว่าสวนนอก (มีคำกล่าวที่ว่า "สวนในบางกอก สวนนอกบางช้าง") ต่อมาปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาต่อเนื่องกับสมัยกรุงธนบุรี แขวงบางช้างแยกออกจากจังหวัดราชบุรีเรียกว่า "เมืองแม่กลอง" สมุทรสงครามมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในช่วงที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี พม่าส่งกองทัพผ่านเข้ามาถึงบริเวณตำบลบางกุ้ง พระเจ้าตากสินมหาราชทรงรวบรวมผู้คนสร้างค่ายป้องกันทัพพม่าจนข้าศึกพ่ายแพ้ไป ณ บริเวณค่ายบางกุ้ง นับเป็นการป้องกันการรุกรานของพม่าเข้ามายังไทยครั้งสำคัญในช่วงเวลานั้น

ชื่อเมืองแม่กลองเปลี่ยนเป็นสมุทรสงครามในปีใดนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด แต่สันนิษฐานไว้ว่าเปลี่ยนราวปี พ.ศ. 2295 ถึงปี พ.ศ. 2299 เพราะจากหลักฐานในหนังสือกฎหมายตราสามดวงว่าด้วยพระราชกำหนดเรื่องการเรียกสินไหมพินัยความ ได้ปรากฏชื่อเมืองแม่กลอง เมืองสาครบุรี และเมืองสมุทรปราการอยู่ และต่อมาพบข้อความในพระราชกำหนดซึ่งตราขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อปี พ.ศ. 2299 ความระบุว่าโปรดเกล้าฯ ให้พระยารัตนาธิเบศร์ สมุหมณเฑียรบาล เอาตัวขุนวิเศษวานิช (จีนอะปั่นเต็ก) ขุนทิพ และหมื่นรุกอักษร ที่บังอาจกราบบังคมทูลขอตั้งบ่อนเบี้ยในแขวงเมืองจังหวัดสมุทรสงคราม เมืองราชบุรี และเมืองสมุทรปราการทั้ง ๆ ที่มีกฎหมายสั่งห้ามไว้ก่อนแล้ว มาลงโทษ (ปุถุชน บุดดาหวัง, 2543, หน้า 9)

        จังหวัดสมุทรสงครามเป็นแผ่นดินที่เกิดขึ้นใหม่จากการทับถมของโคลนตะกอนบริเวณปากแม่น้ำ เกิดเป็นที่ดอนจนกลายมาเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ ปรากฏชื่อครั้งแรกในนาม แม่กลองนอกจากนั้นตามประวัติของราชินิกุลบางช้าง (ดูเพิ่มเติม ณ บางช้าง) สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีซึ่งเป็นพระราชินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระญาติวงศ์ มีพระนิวาสสถานดั้งเดิมอยู่ที่แขวงบางช้าง สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีทรงสืบเชื้อสายจากกษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัยแห่งอาณาจักรอยุธยาและราชวงศ์พระร่วง (ราชวงศ์สุโขทัย) แห่งอาณาจักรสุโขทัยโดยที่เจ้าพลายและเจ้าแสน แห่งราชวงศ์สุโขทัยแห่งอาณาจักรอยุธยา ทรงหนีราชภัยมาตั้งถิ่นฐานที่แขวงบางช้าง จังหวัดสมุทรสงครามจึงเป็นเมืองราชินิกุลบางช้างและราชสกุลแห่งราชวงศ์สุโขทัย มีการสืบทอดนาฏศิลป์ วรรณศิลป์ และการทำอาหาร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารชาววัง) ของสมัยสุโขทัยเป็นต้นมา สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีซึ่งเคยประทับกับสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีที่แขวงบางช้างทรงรับถ่ายถอดการทำอาหารจากที่นี่และทรงเป็นผู้ทำอาหารในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานและว่าด้วยงานนักขัตฤกษ์

ข้อมูลพื้นฐานจังหวัด

สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง

หลวงพ่อบ้านแหลม วัดเพชรสมุทรวรวิหารหรือวัดบ้านแหลม[4] ในสมัยโบราณมีชื่อเรียกว่า วัดศรีจำปา ตั้งอยู่ในตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม ซึ่งเหตุที่ว่าชื่อวัดเป็นชื่อสถานที่ในพื้นที่แห่งหนึ่งในเมืองใกล้เคียงนั้น ก็เพราะว่าในสมัย พ.ศ. 2307 พม่าได้มารุกรานประเทศไทย เข้าตีเมืองตะนาวศรี เมืองทวาย เมืองมะริด เมืองเพชรบุรี โดยเข้ามาทางด่านสิงขร ราชสำนักกรุงศรีอยุธยาได้ส่งพระยาพิพัฒน์โกสากับพระยาตากสินเข้ามาตั้งรับข้าศึกที่เมืองเพชรบุรี การสู้รบครั้งนั้นชาวบ้านแหลมในเมืองเพชรบุรี ต้องประสบชะตากรรมสงคราม อพยพไปอยู่ในลุ่มแม่น้ำแม่กลองบริเวณเหนือวัดจำปาซึ่งไม่ไกลจากทะเล อันเป็นพื้นที่สามารถประกอบอาชีพ (ประมง) จึงได้ตั้งรกรากกันในบริเวณนี้ แล้วไปมาหาสู่กันระหว่างแม่กลองกับอำเภอบ้านแหลม

มาวันหนึ่งขณะออกเรือหาปลา ชาวประมงบ้านแหลม ได้พระพุทธรูป 2 องค์ ขณะกำลังจะกลับฝั่ง ปรากฏว่ามีพายุลมแรง ชาวประมงจึงตัดสินใจนำเรือเข้าฝั่งมาทางแม่กลอง แล้วเข้ามาในแม่น้ำแม่กลองเพื่อหลบพายุ แต่เรือก็ยังโคลงเคลงอยู่จนกระทั่งมาถึงวัดศรีจำปา พระพุทธรูปยืนอุ้มบาตรได้ตกลงน้ำ ทำให้ชาวประมงบ้านแหลมกลุ่มนั้นต้องลงไปในแม่น้ำงมหา แต่ก็ไม่พบ จนชาวบ้านแหลมที่มาตั้งรกรากที่แม่กลองได้งมหาเจอ จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดศรีจำปา ความทราบถึงพี่น้องชาวบ้านแหลมที่อยู่ที่เพชรบุรีเข้า ก็ยกขบวนมาทวงพระคืน พี่น้องบ้านแหลมที่มาตั้งรกรากที่แม่กลองขอพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ที่วัดศรีจำปา โดยยินยอมที่จะเปลี่ยนชื่อวัดจากชื่อวัดศรีจำปาเป็น วัดบ้านแหลม เพื่อเป็นเกียรติไว้แก่ชาวบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีที่เป็นผู้ได้พระพุทธรูปองค์นี้ ชาวบ้านแหลมเพชรบุรีจึงได้กลับไป พระพุทธรูปยืนอุ้มบาตรขนาดเท่าคนจริง สูงประมาณ 167 เซนติเมตร ส่วนอีกองค์ (หลวงพ่อทอง) ได้ไปประดิษฐาน ณ วัดเขาตะเครา ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

ข้อมูลพื้นฐานจังหวัด

สถานที่ท่องเที่ยว

ดอนหอยหลอด

ข้อมูล :   เป็นสันดอนตั้งอยู่ปากแม่น้ำแม่กลอง มีอาณาบริเวณกว้างประมาณ 3 กิโลเมตร ยาว 5 กิโลเมตร ใน ตำบลบางจะเกร็ง ตำบลแหลมใหญ่ ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นสถานที่ที่พบหอยหลอดจำนวนมาก เกิดจากการตกตะกอนของดินปนทราย (ชาวบ้านเรียกว่า ทรายขี้เป็ด”)   ในช่วงเวลาน้ำน้อย ขณะ น้ำลงจะสามารถไป เที่ยวชมทัศนียภาพได้ทั่ว บรรยากาศดี มีร้านอาหารและร้านขายอาหารทะเลตั้งอยู่เต็มพื้นที่ บางช่วงสามารถลงไปไล่จับ หอยหลอดได้อีกด้วย  ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเที่ยวชมดอนหอยหลอด คือ ระยะเวลาเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ของทุกปี

ที่ตั้งตำบลบางจะเกร็ง  อำเภอเมืองสมุทรสงคราม  จังหวัดสมุทรสงคราม

ข้อมูลพื้นฐานจังหวัด

ตลาดร่มหุบ 

ข้อมูลตลาดร่มหุบ เป็นตลาดเทศบาลจังหวัดสมุทรสงคราม หรือ ตลาดแม่กลอง ลักษณะเป็นตลาดสดทั่วไป คือมีขายผักสด อาหารสด อาหารแห้ง อาหารทะเล และขายของจิปาถะทั่วไป และอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟแม่กลอง ทำให้มีรางรถไฟพาดผ่านตลาดแห่งนี้ จึงทำให้เป็นที่มาของตลาดร่มหุบ เพราะว่าเวลารถไฟแล่นผ่านตลาดแม่ค้าที่ขายของอยู่บริเวณใกล้ๆกับรางรถไฟนี้จะเก็บข้าวของและหุบร่มของร้านตัวเองเช่นนี้จึงทำให้มีนักท่องเที่ยวมากมายแวะเข้ามาเที่ยวชม พร้อมๆกับการอึ้งและหวาดเสียวไปตามๆกัน รถไฟจะผ่านเข้าออกสถานีแม่กลองและตลาดร่มหุบวันละ 8 รอบจะผ่านเข้าสถานีแม่กลองเวลา 08:30 , 11:10, 14:30, 17:40 และจะออกจากสถานีแม่กลองเวลา: 06:20 , 09:00, 11:30, 15:30

ที่ตั้ง : ตำบลแม่กลอง  อำเภอเมืองสมุทรสงคราม  จังหวัดสมุทรสงคราม 

ข้อมูลพื้นฐานจังหวัด

ตลาดน้ำอัมพวา

ข้อมูล :  “ตลาดน้ำอัมพวาตลาดน้ำยามเย็น (ตลาดน้ำส่วนใหญ่จะติดตลาดในช่วงเช้า) ที่ได้รับการกล่าวถึงจากนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทย และ ชาวต่างชาติ มากที่สุด มนต์เสน่ห์ของ อัมพวาอยู่ที่ห้องแถวเรือนไม้บริเวณ 2 ฝั่งคลองของตลาด พร้อมเหล่าพ่อค้าแม่ขาย ที่นำสินค้ามากมายโดยเฉพาะอาหารที่สามารถหาซื้อได้จากเรือโดยตรง มาจอดขายจนเต็ม 2 ฝั่งคลอง ตลอดแนวห้องแถว รวมไปจนถึงการล่องเรือไปยังแม่น้ำแม่กลองเพื่อสัมผัสวิถีริมฝั่ง  การไหว้พระริมน้ำ และ การล่องเรือชมหิ่งห้อย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเสน่ห์ตรึงใจ ที่ไม่ว่ากี่ปีผ่านไป ตลาดน้ำอื่นๆ ก็ไม่สามารถช่วงชิงความเป็น 1 ไปจากที่นี่ได้

ที่ตั้ง : ถนนโชติธำรงค์  ตำบลอัมพวา  อำเภออัมพวา  จังหวัดสมุทรสงคราม 

ข้อมูลพื้นฐานจังหวัด


วัดเพชรสมุทรวรวิหาร (วัดบ้านแหลม หรือ วัดหลวงพ่อบ้านแหลม)

ข้อมูลวัดบ้านแหลม หรือ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร ตั้งอยู่ในตัวเมือง เดิมชื่อวัดศรีจำปา เป็นวัดสำคัญที่สุดของจังหวัด ตามพงศาวดารฉบับราชหัตถเลขา เมื่อ พ.ศ. 2307 พม่ายกทัพเข้ามาตีเมืองเพชรบุรี แต่กองทัพของกรุงศรีอยุธยา ได้ยกทัพมาช่วยรักษาเมืองไว้ได้ชาวบ้านแหลมในเขตเมืองเพชรบุรีได้อพยพหนีพม่ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ในตำบลแม่กลอง เหนือวัดศรีจำปาขึ้นไป และเรียกหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านแหลม" ตามชื่อบ้านเดิมของตนในเมืองเพชร ได้ช่วยกันบูรณะวัดศรีจำปาแล้วเรียกว่า "วัดบ้านแหลม" ชาวบ้านแหลมนี้ส่วนใหญ่เป็นชาวประมง คราวหนึ่งได้ออกไปลากอวน ในอ่าวแม่กลอง ได้พระพุทธรูปติดอวนขึ้นมา 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปนั่ง อีกองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปยืน สำหรับพระพุทธรูป นั่งได้นำไปประดิษฐานไว้ที่วัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี สำหรับพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร สูงประมาณ 167 เซนติเมตร แต่บาตรนั้นสูญหายไปในทะเล ได้นำไปประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านแหลม เรียกว่า "หลวงพ่อบ้านแหลม" มีความศักดิ์สิทธิ์ และมีอภินิหารเป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวบ้านทั่วไป  วัดบ้านแหลมซึ่งแต่เดิมเป็นวัดเล็ก ๆ ที่ทรุดโทรมก็กลับเจริญขึ้นเป็นวัดใหญ่ เพราะมีผู้คนมาทำบุญ และนมัสการหลวงพ่อบ้านแหลมกันอยู่เรื่อย ๆ ต่อมาวัดนี้ได้รับการยกฐานะ ขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นวรวิหาร ได้รับพระราชทานนามว่า "วัดเพชรสมุทรวรวิหาร" สำหรับบาตรของหลวงพ่อบ้านแหลม นั้น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธ์วงศ์วรเดช ได้ถวายบาตรไว้ให้บาตรหนึ่ง เป็นบาตรแก้ว สีน้ำเงิน ซึ่งยังคงปรากฏอยู่ทุกวันนี้ ภายในบริเวณวัดเพชรสมุทรยังมีพิพิธภัณฑ์สงฆ์ จัดแสดง พระพุทธรูป และพระเครื่องสมัยต่าง ๆ โบราณวัตถุเครื่องลายคราม และธรรมมาศน์บุษบก สมัยกรุงศรีอยุธยาไว้ให้ ชมด้วย

ที่ตั้ง : ตำบลแม่กลอง  อำเภอเมืองสมุทรสงคราม  จังหวัดสมุทรสงคราม 


ข้อมูลพื้นฐานจังหวัด


วัดค่ายบางกุ้ง 

ข้อมูล : วัดบางกุ้ง เป็นวัดที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  มีจุดเด่นที่พระอุโบสถ ซึ่งเป็นโบสถ์เก่าแก่ ถูกปกคลุมทั้งอาคารด้วยรากของต้นโพธิ์   ต้นกร่าง  ต้นไกร  จนได้รับยกให้เป็นอันซีนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสงคราม  พระอุโบสถเป็นอาคารเครื่องก่ออิฐถือปูน ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา  ตามแบบวัดไทยทั่วๆไป   ที่มักเป็นเครื่องลำยอง  ภายในโบสถ์เป็นที่สถิตของ "หลวงพ่อนิลมณี" หรือ "หลวงพ่อดำ" ตามที่ชาวบ้านเรียกกัน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทรงปางมารวิชัยขนาดใหญ่ สมัยอยุธยาตอนปลาย นอกจากนี้ภายในยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ

ที่ตั้ง : ตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม 


ข้อมูลพื้นฐานจังหวัด

อุทยาน ร.2

ข้อมูล  :   อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หรือ อุทยาน ร.ตั้งอยู่ในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีสิ่งที่น่าสนใจ คือ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ลักษณะเป็นอาคารทรงไทย แบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ เช่น หอกลาง ภายในประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ 2 และจัดแสดงศิลปะ โบราณวัตถุสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น เครื่องเบญจรงค์ เครื่องถ้วย หัวโขน ห้องชาย จัดแสดงให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของชายไทยที่มีความกล้าหาญ มีพระพุทธรูปสำหรับบูชารวมทั้งแท่นพระบรรทม ซึ่งเชื่อว่าเป็นของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ห้องหญิง แสดงให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของหญิง ไทยโบราณ โต๊ะเครื่องแป้ง คันฉ่อง ชานเรือน จัดแสดงตามแบบบ้านไทยโบราณ ตกแต่งด้วยกระถางไม้ดัด ไม้ประดับ ห้องครัวและห้องน้ำ จัดแสดงลักษณะครัวไทยมีเครื่องหุงต้ม ถ้วย โรงละครกลางแจ้งและสวนพฤกษชาติ  เป็นสวนพันธุ์ไม้ในวรรณคดีนานาชนิดและมีร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง จำหน่ายพันธุ์ไม้  อุทยาน ร.เป็นสถานที่ๆ มีความร่มรื่น เหมาะสำหรับเข้าไปเยี่ยมชมบรรยากาศแบบไทยที่ยังคงอนุรักษ์เอาไว้

ที่ตั้ง ตำบลอัมพวา  อำเภออัมพวา  จังหวัดสมุทรสงคราม 

ข้อมูลพื้นฐานจังหวัด


วัดจุฬามณี

ข้อมูล : วัดจุฬามณี เป็นแหล่งกำเนิดของสตรีคนสำคัญถึง ๔ คน ณ บริเวณหลังวัดนี้  และยังเป็นที่อพยพหลบภัยของญาติพี่น้อง และมิตรสหายของหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี หรือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก วัดจุฬามณี เดิมเรียกกันว่า “วัดแม่ย่าเจ้าทิพย์” เรียกชื่อมาแต่สมัยอธิการเนียม เป็นเจ้าอาวาส เพราะวัดนี้สมัยหนึ่งชำรุดทรุดโทรมมาก ได้รับอุปการะจากท่านทิพย์ได้ให้ความอุปถัมภ์ปฏิสังขรณ์เสนาสนะของวัดให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น จึงเรียกชื่อวัดตามนามผู้อุปถัมภ์ ซึ่งผู้สร้างวัด คือ ท้าวแก้วผลึก (น้อย)

ที่ตั้ง  :  ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม